เมื่อเรานึกถึงเส้นทางการเดินทางติดต่อในสมัยโบราณระหว่างทวีปเอเชียและทวีปยุโรป เรามักจะนึกถึงเส้นทางสายไหม ในประเทศฝรั่งเศส ผ้าไหมได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนับตั้งแต่การมาถึงจากประเทศจีนเดินทางผ่านประเทศอิตาลีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในภาพ เราเห็นโรงงานทอผ้าในเมือง Lyon (ลียง) สมัยศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นทายาทของ "โรงงานผ้าไหม Lyonnaise" สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 เมื่อพระเจ้าฟรองซัวส์ที่1 ทรงมอบสิทธิพิเศษแก่ช่างทอผ้าในเมืองลียงซึ่งเคยมอบให้กับเมืองตูร์มาก่อนเพื่อสามารถต่อสู้กับการแข่งขันของอิตาลี ในเขตที่เรียกว่า Croix-Rousse เป็นเขตที่มีหญิงปั่นด้ายกรอด้ายและช่างทอผ้าชาย ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Canuts รวมกลุ่มกันอยู่เป็นชุมชนมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะพักอาศัยอยูในหมู่บ้านทอผ้านี้เลย Croix-Rousse มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เนินเขาแห่งการทำงาน" ตรงข้ามกับ "เนินเขาแห่งการสวดมนต์" ที่ชื่อ Fourvière ซึ่งมีโบสถ์ที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระแม่มาเรีย และวิหาร Notre-Dame ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2413 ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ในประเทศไทย กษัตริย์เจ้าเมืองน่านได้ทรงตัดสินพระทัย สร้างและบูรณะวัดต่างๆ ในราชอาณาจักรของพระองค์ เราจึงได้เห็นภาพเขียนฝาผนังของวัดภูมินทร์ในภาพนี้ บนผนังของวัดมีหลายภาพที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ ผู้มีถิ่นกำเนิดมาจากมณฑลยูนนาน ในประเทศจีน ผู้หญิงที่ทอผ้าไหมจะสวมซิ่นลายน้ำไหลแบบดั้งเดิม และที่ผนังวัดมีคำอธิบายภาพเขียนเป็นภาษาท้องถิ่นของจังหวัดน่านการค้นพบเส้นใยไหมที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มีอายุ 2500 ปีก่อนคริสตกาล ในจังหวัดอุดรธานีพิสูจน์ให้เห็นว่าการทอผ้าไหมในภูมิภาคนี้มีมาแต่โบราณ ภายหลังจากการเสื่อมโทรมเป็นเวลานาน ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของผ้าไหมในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นโดยจิม ทอมป์สันในศตวรรษที่ 20